นักพัฒนา Full Stack คือ นักพัฒนาเว็บอย่างเต็มรูปแบบทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้าน หรือวิศวกรที่ทำงานร่วมกับ Front End และ Back End ของเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งหมายความว่านักพัฒนา Full Stack สามารถจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล และสร้างเว็บไซต์ที่รองรับผู้ใช้บริการ หรือแม้แต่ทำงานกับผู้รับบริการในช่วงการวางแผนสร้างโครงการต่าง ๆ
Full Stack หรือ นักพัฒนาเว็บเต็มรูปแบบ มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความคุ้นเคยกับ HTML , CSS , JavaScript และภาษาโปรแกรมมิงอย่างน้อยหนึ่งภาษา หรือมากกว่าขึ้นไป
- นักพัฒนา Full Stack ส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในภาษาการเขียนโปรแกรม Back End โดยเฉพาะ เช่น Ruby หรือ PHP และ Python แม้ว่าบางทีนักพัฒนา Full Stack จะทำงานเป็นนักพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว หรือ ทำงานมาได้มากกว่าหนึ่งงาน โดยทั่วไปแล้วในสายงานนี้มักจะมีชื่อเรียกที่เข้าใจกันว่า “นักพัฒนา Ruby เต็มรูปแบบ” หรืออะไรที่คล้ายกัน เป็นต้น
- นักพัฒนา Full Stack ที่ดีต้องมีการเรียนรู้ทั้งการจัดการ บริหารโครงการใดโครงการหนึ่งให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ รวมถึงมีการจัดวาง การออกแบบภาพรวม หรือการออกแบบเว็บไซต์ให้ออกมาดีที่สุด และมีทักษะ รวมถึงประสบการณ์ร่วมกับผู้ใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม มุ่งไปสู่ความสำเร็จในแบบที่คุณต้องการ
ในเส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่สามารถทำได้ในส่วนของ Front End และส่วนของ Back End ที่ยังไม่ชัดเจนนั้น นักพัฒนาส่วนมากจะกลายมาเป็นสิ่งที่ทุกคนเรียกกันว่า “Full Stack” ซึ่งนายจ้างจำนวนมาก โดยเฉพาะเอเจนซี่ที่ทำงานในไซต์ประเภทต่าง ๆ ล้วนมองหานักพัฒนาที่รู้วิธีการทำงานในทุกส่วนของเว็บไซต์เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดสำหรับงาน โดยที่ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นงานเฉพาะด้านเทคนิคฝ่าย Front End หรือ ฝ่าย Back End หรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า นักพัฒนา Full Stack มักเป็นที่ต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทต่าง ๆ ตามไปด้วยนั่นเอง
ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายคนเป็นจำนวนมากคิดว่า นักพัฒนา Full Stack ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดทั้งหมดของเว็บไซต์ด้วยตัวเอง ซึ่งนักพัฒนา Full Stack ส่วนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนโค้ดทั้งด้าน Front End และ Back End ของไซต์ทั้งหมดต่างหาก แต่ประเด็นก็คือ นักพัฒนา Full Stack จำเป็นต้องรู้ให้เพียงพอเกี่ยวกับการเขียนโค้ดทั้งหมด ซึ่งนักพัฒนา Full Stack สามารถทำการค้นคว้าได้จากทุกแหล่งหากจำเป็น และนักพัฒนา Full Stack บางคนเขียนโค้ดเว็บไซต์ทั้งหมดรวมทั้งด้าน Front End และ Back End แต่มักจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่นักพัฒนา Full Stack ทำงานอิสระ หรือเป็นนักพัฒนาเพียงคนเดียวที่ทำงานในโครงการนั้น
การพัฒนาเว็บ FULL STACK คืออะไร ?
การพัฒนา Full Stack อาจทำให้หลายคนเกิดความสับสน เนื่องจากวิธีการเรียกชื่อของสายงานนี้ หรือวิธีการที่ปรากฏขึ้นในรายชื่องาน โดยบางครั้งคุณจะเห็นชื่อตำแหน่งว่า Full Stack Developers หรือ Full Stack Web Developers ซึ่งล้วนแล้วต่างมีความหมายเหมือนกันทั้งสิ้น และบางครั้งอาจมีการเรียกด้วยชื่อ Full Stack Engineers เช่นกัน
ซึ่งในลำดับต่อไปนี้จะมีการอธิบายความแตกต่างระหว่างนักพัฒนา Full Stack และ วิศวกร Full Stack ให้ได้ทราบ แต่ก่อนอื่นมาดูความหมายของ Full Stack Development หรือการพัฒนา Full Stack กันก่อนดีกว่า
Full Stack Development หรือ การพัฒนา Full Stack ซึ่งรวมถึงโครงการใด ๆ ที่คุณกำลังทำงานอยู่ หรือ กำลังเริ่มสร้างขึ้น ทั้งด้าน Front End และ Back End ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในเวลาเดียวกัน โดยพื้นฐานแล้ว คือ โครงการพัฒนาเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ทั้งผู้พัฒนาในส่วน Front End และ Back End แต่สำหรับนักพัฒนา Full Stack แล้วจะรับบทบาทเป็นแทนทั้งคู่เลยนั่นเอง
ความแตกต่างต่างระหว่าง FULL STACK DEVELOPER และ FULL STACK ENGINEER ?
Full Stack Engineer หรือ วิศวกร Full Stack เป็นบทบาทระดับสูง สำหรับคนที่มีทักษะของนักพัฒนา Full Stack แต่มีประสบการณ์การจัดการโครงการในสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชำนาญ เช่นการบริหารระบบ หรือ การกำหนดค่า การจัดการ การดูแลรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบ เป็นต้น
หากคุณดูตัวอย่างของงานวิศวกร Full Stack ที่มีการระบุไว้บนเว็บไซต์ คุณจะพบว่าตำแหน่งเหล่านี้มักจะเกิดจากประสบการณ์การพัฒนาเว็บ Full Stack อย่างน้อย 3 – 5 ปี เนื่องจากต้องมีความสนใจในการกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ มุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้คนให้เรียนรู้ทักษะการใช้งานของเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยทุกคนมักจะคาดหวังไปที่ตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับที่สูงขึ้น แต่งานวิศวกร Full Stack มักเป็นบทบาทสูงสุดที่ทุกคนต้องการหลังจากใช้เวลาทำงานในสายงานนี้มาระยะหนึ่งนั่นเอง
หากสนใจคอร์สเกี่ยวกับ Full Stack Developer สามารถสมัครได้ทาง https://bit.ly/3MXPtBp